วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Ordination of Thai men


The popularity of the men ordained as a Thai traditional. When Thai men's age 20 years or more parents who have sons often ask his son that when his son is ordained for them because Thai people believe that the ordination of his son will make them (parents) go to heaven upon death. Therefore, ordination is very traditional merit. Anyone would want to join and appreciation for the ordination of Thai men whenever the men ordained in the village.

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์


"พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ" เป็นพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม มีลักษณะพิเษษน่าสนใจ ด้วยเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นบุดีบุกลงรักปิดทอง ขนาดหนัาตัก 2.5 เมตร สูง 3.5 เมตร พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ฯ มีลักษณะพิเศษ คือภายในองค์พระมีฉลองพระองค์ลายยันต์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และเสื้อยันต์ของเหล่าแม่ทัพนายกองของพระองค์ เมื่อคาวมีชัยในสงคราม ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โปรดเกล้าฯ ให้ช่างปั้นพระเอาปูนพอกเข้าไว้ด้วยก่อนบุดีบุก ทำให้พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่โตกว่าเดิมก่อนการปฏิสังขรณ์ นอกจากนี้ รอบพระประธานยังมีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัยอีก 15 องค์ ซ่งสันนิษฐานกันว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสรสิงหนาท จะทรงนำแบบอย่าางมาจากวัดชุมพลนิกายารามที่ บางปะอิน ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ ซึ่งปรากฏนามอยู่ในบทสวดมนต์อาฏานาฎิยปริตร พระพุทธเจ้า 16 พระองค์นี้ตามคติโบราณนับถือกันว่า ทรงพระพุทธคุณในการประสิทธิ์ประสาทชัยชนะเหนือศัตรู และผู้มีบัญญัติอักขระย่อแทนพระนาม ผู้เป็นยันต์พระเจ้า 16 พระองค์ เพื่อเป็นการสักการบูชา ดังนั้น พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ฯ จึงเป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีผู้มาเคารพสักการะบูชาอย่างมาก

ด้วยมีความเชื่อกันว่า จะมีชัยชนะในศึกสงครามและผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆได้ สมดังนามแห่งวัดชนสงครามแห่งนี้

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์


"วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร" ตั้งอยู่ใจกลางเกาะรัตนดกสินทร์ ถือเป็นหนึ่งในหกพระอารามสำคัญที่สุดของเมืองไทยโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นวัดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร เริ่งสร้างในปี 2350 วัดสุทัศนเทพวรารามฯ เป็นที่ประดิษฐานพระุพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสวยงาม นามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะหน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว บางแห่งว่าหน้าตักกว้าง 3 วา 17 นิ้ว สูง 4 ว่า 18 นิ้ว เมื่อครั้งที่พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างในปี 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ตอ่มาคือ พระยาพิชัยฐาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ผนั่งภายในเขียนภาพจิตรกรรฝือมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรให้กรมหมื่นณรงคหริรักษ์ สร้างพระพุทธประธาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างข้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดาซ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ข้น ประดิษฐานแทน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับกาลที่ 4 ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พศ. 2407 โปรดสร้างพระอสีติมหาสาวก จำนวน 80 องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งประนมมือฟังพระบรมพุทโธวาท เบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธเทวปฏิมากร

http://www.tumsrivichai.com/images/1193556381/buddhathewapathimakorn.jpg
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างวัดโพธาราม ให้เป็นวัดใหญ่สำหรับพระนคร และทรงขนานนามใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" ได้ทรงเลือกหาพระพุทธรูป ที่มีพุทธลักษณะงามสมควรเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ทรงเลือกพระพุทธรูปจากวัดศาลาสีหน้า โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถถวายพระนามว่า "พระพุทธเทวปฏิมากร"
ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ เป็นการใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2375 รื้อพระอุโบสถสร้างข้นใหม่ใหญ่โตกว่าเก่า
ส่วนฐานพระพุทธเทวปฏิมากร รื้อของเก่าทำขึ้นใหม่ ขยายเป็น 3 ชั้น พระสาวกเดิมมี 2 องค์ รวมเป็นพระสาวก 10 องค์ ดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้
มีคำที่เล่าสืบกันมาว่า ถงพระอุณาโลมพระพุทธเทวปฏิมากรนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้สร้างถวายในครั้งนั้นด้วย
"พระพุทธเทวปฏิมากร" เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว มีพุทธลักษณะอันงดงาม
ไม่ปรากฏข้อมูลผู้สร้าง แต่วัดพระเชตุพนฯ เป็นวัดสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์วัดหนึ่ง พระพุทธเทวปฏิมากรได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระมหากษัตริย์ในพระราชจักรีวงศ์มาโดยตลอด
การบูรณปฏิัสังขรณ์ครั้งใหญ่ มีขึ้นในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา เมื่อปี 2530 และรัชมังคลาภิเษกในปี 2531
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาถวายผ้าฉัตรตาดทอง 9 ชั้น และถวายผ้าห่อมตาดทองประดับพระปรมาภิืไธยย่่อ ภปร. แด่พระพุทธเทวปฏิมากรด้วย

พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร


" พระพุทธอังคีรส" เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทรงผ้ามีกลีบ วัสดุกะไหล่ทองเนื้อแปดสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ หรือ 60 นิ้ว น้ำหนัก 108 บาท พระฉวีวรรณเป็นทองคำทั้งพระองค์
ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติที่ได้บันทึกไว้ต่างกันเป็น 2 ความ
ความที่ 1 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมือเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ พุทธศักราช 2411 มีพระราชดำริสร้างวัดใกล้พระบรมมหาราชวัง สถาปนาเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาล
ความที่ 2 ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ัหัว รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้นำเศวตฉัตรองค์ที่ใช้กั้นพระโกศพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระพุทธอังคีรส โดยเสด็จฯทรงประกอบพิธียกด้วยพระองค์เอง
พระพุทธอังคีรส เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง แปลว่า มีพระรัศมีออกจากพระวรกาย องค์พระกะไหล่ทองคำทั้งองค์ หนัก 108 บาท เป็นทองคำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ทรงถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลของพระราชบิดา เมื่อเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ.2492 บรรจุไว้ที่ฐานพระอังคีรส และ พ.ศ.2528 ก็ได้บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพรนางเจ้ารำไพพรรณีไว้เช่นกัน

ข้อมูลจาก หนังสือ "เดินสายไห้วพระพุทธทั่วไทย"

ยินดีต้อนรับสู่ความสงบๆร่มเย็นภายในวัดต่างๆของประเทศไทย

อยากนำเสนอสิ่งดี รูปแบบดีๆ ของวัดในประเทศไทย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ เรียกร้องให้ทุกคนให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตแบบชาวพุทธ เน้น สงบ สันติ มีความสุขอันเิกิดความการทำความดีแนววิถีคนชาวพุทธ